ไม่รู้ว่าใครเป็นคนร่างจดหมาย แต่อ่านแล้วแอบรู้สึกหดหู่

ไม่รู้ว่าใครเป็นคนร่างจดหมาย แต่อ่านแล้วแอบรู้สึกหดหู่
Photo by Hannah Olinger / Unsplash

ไม่ได้หดหู่เพราะเห็นนักศึกษาที่เรียนที่จีนไม่ได้กลับจีนสักที

แต่หดหู่เพราะ เนื้อความที่เขียนซะมากกว่า…

.

เมื่อประเทศไม่มีความเป็นตัวของตัวเองแล้ว (Subjectivity)

ประเทศนั้นแม่งก็ไม่เป็นอะไรทั้งนั้น

.

ฉันเคยล้อเล่นกับเพื่อน ๆ เสมอว่า

อย่าเรียกเลยว่าเป็นประเทศไทย 

เรียกว่าเขตปกครองพิเศษสยาม 

แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนซะดีกว่า

.

ทำไมตอนหลังถึงใช้ไทย แทนคำว่าสยาม  ?

สยาม กับ ไทย เป็นคำเรียกของใคร ?

ใครเป็นคนเรียกคำเหล่านั้น ตนเอง หรือ ผู้อื่น ?

.

ความเป็นอัตวิสัย ความดำรงไว้ซึ่งตัวตน

ความมีอำนาจทางอธิปไตย 

.

ภายใต้สถานการณ์แห่งโลกาภิวัตน์ (Globalization)

มีแนวคิดไม่น้อย ที่มองว่า 

การเจริญเติบโตของจีน เป็น สภาพปกติ

การเข้ามาของโลกตะวันตก ในช่วง 200 ปี

เป็นเพียงสภาวะชั่วคราวที่ทำให้จีนอ่อนแอ

.

ช่วงเวลากว่า 2000 ปี

จากช่วงแรกที่จีนเฟื่องฟู สู่ยุคตกต่ำในช่วงเวลาแค่200ปี

และกำลังกลับขึ้นมาสู่ความเป็น ”สภาวะปกติ”

.

แน่นอนว่า จีน เป็นประเทศที่ใหญ่

เป็นประเทศที่มีสภาพภูมิประเทศที่เอื้อ และมีทรัพยากรที่ดี

.

จีน สำหรับไทยแล้ว

จึงเป็น “คนอื่น” ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้

ไม่ใช่ “ตนเอง” 

.

หากไทยไม่มีความเป็นตัวของตัวเอง

ไทยแม่งก็ไม่เป็นไรทั้งนั้น

เพราะฉะนั้นอย่าใช้ชื่อว่า ไทย เลยดีกว่า

.

กลับไปเป็นส่วนหนึ่งของจีนเสียเลย….

.

ภูมิรพี แซ่ตั้ง

19 พฤษภาคม 2021

#อยากบันทึกไว้เล่าสู่กันฟัง

ปล.เนื้อความทั้งหมดเป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัว ที่สามารถพูดคุยถกเถียงได้ ในสภาวะของการพูดคุยในจุดที่เท่ากัน พยายามเข้าใจกัน และเรียนรู้ไปด้วยกัน มิใช่การพูดคุยถกเถียงในจุดที่ใครอยู่สูงกว่าใคร หรือ มองคนเห็นต่างด้วยความเป็นอคติ