เมื่อเราสามารถเข้าถึงข้อมูลทุกอย่างได้ผ่านอินเตอร์เน็ต การศึกษาในโรงเรียนยังจำเป็นอยู่ไหม ?
ทุกวันนี้ โลกเรามีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
การเข้าถึงข้อมูลอย่างไร้พรมแดน ปริมาณข้อมูลมหาศาล
ที่ถูกส่งต่อภายใต้สิ่งที่เรียกว่า “อินเตอร์เน็ต”
.
เนื้อหาที่เรียนสามารถเข้าถึงได้จากโลกอินเตอร์เน็ต
แล้วเราจะเรียนหนังสือในโรงเรียนไปทำไม ?
.
เมื่อไม่กี่วันมานี้ ได้เข้าไปฟัง Clubhouse ห้องหนึ่ง
มีประเด็นที่น่าสนใจอยู่เหมือนกัน
.
เรื่องแรก เขาคุยกันเรื่องแขนงวิชาในมหาวิทยาลัย
ที่ไม่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน
สาขาอาชีพบางอย่างที่ผุดขึ้นมาในปัจุบัน
ไม่มีสอนในมหาลัย
.
เรื่องสอง รู้สึกเอะใจกับอาจารย์มหาลัยท่านหนึ่ง
แกบอกว่า แกสอนทักษะ ความรู้
ที่คิดว่ามันจะเป็นประโยชน์ต่อเด็กคนนั้นในอนาคต
แกอยากให้เด็กเป็นยังไงก็สอนแบบนั้น
.
เป้าหมายของการศึกษาคืออะไรกันแน่ ?
.
ผลิตซ้ำบุคลากรเพื่อออกมาเป็นแรงงานรับใช้นายทุน ?
ผลิตพลเมืองที่ดีและมีความรักและซื่อสัตย์ต่อชาติ ?
ผลิตบุคคลที่สยบยอมต่ออำนาจรัฐ โดยปราศจากการตั้งคำถาม ที่เป็นภัยต่อความชอบธรรมของการปกครอง ?
.
หรือ ผลิตมนุษย์ ที่เป็นมนุษย์
มีความสามารถในการคิด การตั้งคำถาม
มีสติปัญญา คิดและวิเคราะห์สาร ?
.
แนวคิดการศึกษา เป็นแนวคิดที่มาจากโลกตะวันตก
.
เอเชียศึกษา เอเชียตะวันออกศึกษา
เริ่มแรกก็ล้วนมาจากประเทศฝั่งตะวันตกทั้งสิ้น
ตั้งแต่ยุคล่าอาณานิคม….
.
การศึกษาในไทยเกิดขึ้นมาได้อย่างไร ?
.
คนเราเกิดมาต้องเรียนหนังสือ
การศึกษาภาคบังคับถึงม.3
มีกระทรวงศึกษาธิการกำกับดูแลมาตรฐานการศึกษา
.
แท้จริงแล้วเรียนไปเพื่ออะไร ?
.
การศึกษาในยุคแรก เริ่มต้นแค่คนกลุ่มน้อย….
.
ภายหลัง
การศึกษาถูกผนวกเข้ากับประวัติศาสตร์การสร้างชาติ
.
หรือ อีกนัยนึง
ประชาชนถูก educate ผ่านระบบการศึกษา
ให้รู้จัก “ประวัติศาสตร์การสร้างชาติ”
และเป็นส่วนหนึ่งของ “ประวัติศาสตร์การสร้างชาติ”
.
การเกิดขึ้นของโรงเรียนจีนในไทย
กับชาตินิยมจีนที่ผุดขึ้น ภายใต้สถานการณ์ตั้งแต่
ราชวงศ์ชิง ที่ออกกฏหมายเรื่องสัญชาติจีน
อีกทั้งการที่ซุนยัดเซนเคยมาประเทศไทย
เผยแพร่อุดมการณ์การปฏิวัติ
(ซึ่งภายหลังมีการตั้งชื่อถนนเส้นหนึ่งว่า ซอยปาฐกถา หรือปัจจุบันคือ ซอยผลิตผล (ซุนยัดเซน))
.
เมื่อการศึกษากับความเป็นชาตินิยมจีน
กลายมาเป็นอันตรายต่อการควบคุมของรัฐ
เป็นอันตรายต่อความชอบธรรมในการปกครอง
.
รัฐจึงจำเป็นที่จะต้อง “ปิดโรงเรียนจีน”
ทำโรงเรียน จาก “ใต้ดิน” ให้เป็น “บนดิน”
.
มีองค์กรที่เข้ามาบริหารจัดการโรงเรียน โดยรัฐ
เพื่อให้แน่ใจว่า บุคลากรที่ผลิตไปจะสามารถมีความรักและซื่อสัตย์ต่อชาติ ที่ถูกปกครองอยู่โดยคนกลุ่มน้อย
.
และต่อมา
สิ่งที่เรียกว่า ผลประโยชน์ ก็มาถึง
นายทุน ทุนนิยม ที่สามารถให้ประโยชน์แก่รัฐ
ต่างฝ่าย ต่างพึ่งพากัน
.
หน้าที่ของการศึกษา ถูกเขียนขึ้นใหม่
ภายใต้ การศึกษาเพื่อประวัติศาสตร์การสร้างชาติ เดิม
ให้คำอธิบายใหม่ขึ้น ที่สอดคล้องกับอุดมการณ์เดิม
.
การผลิตบุคลากรเพื่อเป็นแรงงานจึงเกิดขึ้น
.
แล้วความจริงแล้ว เราควรเรียนไปเพื่ออะไร ?
.
ไม่มีคำตอบที่ถูกต้อง และ ไม่มีคำตอบที่ผิด
ถูกและผิดขึ้นอยู่กับวันเวลา….
.
เมื่ออินเตอร์เน็ตกลายมาเป็นอันตรายต่อรัฐ
การบล๊อคการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเป็นเรื่องยาก
.
เมื่อประชาชนถูกอินเตอร์เน็ตทำให้ “ออกจากกะลา”
ออกจากเซฟโซนที่ผู้ปกครองได้วางแผนไว้
ปัญหาจึงเกิดขึ้น ความไม่สงบที่เกิดขึ้น
.
เมื่อถึงเวลา บางอย่างที่ล้าหลัง ไม่อาจทนต่อสภาวะ
การเปลี่ยนแปลง ก็ต้องหายไป และสิ่งใหม่ก็ต้องมา
สิ่งใดไม่มีการปรับตัวก็จะอยู่ยาก
.
จากสถานะของการส่งบรรณาการจีน
ต้องได้รับการยอมรับจากจีนผ่านตราโลโต
จึงจะมีความชอบธรรมในการปกครอง
ไปสู่ การเข้ามาของโลกตะวันตก
แนวคิดโลกตะวันตกเป็นศูนย์กลางมาแทนที่
กับการนำความเป็นสมัยใหม่(Modern) มาสู่ประชาชน
ภาพของผู้ปกครองที่ถูกผูกติดกับการแสดงตัวของผู้ปกครอง ในประชาคมโลก กับการเป็นผู้นำของความเป็นสมัยใหม่
.
การนำแนวคิดตะวันตก มาประยุกต์ใช้ปรับปรุง
และเปลี่ยนแปลง จึงอยู่รอดต่อไปได้
.
จนวันนี้ เมื่ออินเตอร์เน็ตเข้ามาเป็นปัญหาต่อความชอบธรรม
.
ผู้ปกครองจะทำอย่างไร จะนำคำอธิบายอย่างไรมาใช้
เพื่อให้ดำรงไว้ซึ่งความชอบธรรมนั้นได้….
.
ก็เป็นสิ่งที่เราต้องคอยดู และพิสูจน์ด้วยเวลาที่กำลังจะถึง
.
ภูมิรพี แซ่ตั้ง
15 กุมภาพันธ์ 2021