นิทรรศการวัฒนธรรมไทย ในไต้หวัน: "ความเป็นไทย ในสายตาของคนนอก"
เมื่อไม่กี่วันนี้ New Taipei City Government ได้จัดนิทรรศการพิเศษเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยขึ้นมา (ตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคม ถึง 5 กันยายน 2021 ภายใต้ความร่วมมือกับ New Taipei City Shihsanhang Museum of Archaeology และ National Museum of Taiwan History)โดยมีประเด็นออกมาเป็น 5 ประเด็น
1.มองสยามในยุคราชวงศ์หมิงและชิง (Siam in the Ming and Qing Dynasties)
2.แผนที่สยามในยุคแห่งการสำรวจ (Siam on navigation maps)
3.มุมมองของญี่ปุ่นในยุคสมัยใหม่ (The vision of Japan in modern times)
4.สัญลักษณ์ไทย (Thai symbols)
5.วรรณกรรมไทยในไต้หวัน (Thai literature in Taiwan)
.
วันนี้ได้มีโอกาสไปดูก็เลยอยากเขียนอะไรนิ๊ดหน่อย
.
นิทรรศการนี้มีพื้นฐานมาจากการเข้าใจ “ไทย” ในมุมมองของคนนอก
โดยเริ่มจากสิ่งที่ว่า เมื่อพูดถึงไทย เราะจะนึกถึงอะไร ?
พุทธเถรวาท ราชวงศ์ และอื่น ๆ สิ่งทุกสิ่งในนี้มองย้อนลงไปตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ก็คือ เอกสารบันทึก “สยาม” และภายหลังศตวรรษที่ 20 กับการทำให้เป็นไทย (Thai-ification) หลาย ๆ ครั้ง จนกลายมาเป็น ประเทศไทย ที่มีความหมายของการเป็น “รัฐชาติ” (National State)
.
การดำเนินของนิทรรศการเริ่มด้วยการหยิบยกนำเสนอ สยาม ในยุคสมัยราชวงศ์หมิงและชิง ผ่านการหยิบยกหลักฐานที่มีการบันทึกไว้เป็นภาษาจีนเกี่ยวกับ”สยาม”ในช่วงศตวรรษที่ 15-19 ที่บรรยายรูปลักษณ์ของคนสยาม พื้นที่ สภาพวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ ของคน “สยาม” ผ่านบันทึกของคนเดินทาง
.
ตามมาด้วยการบอกเล่า “สยาม” ผ่านมุมมองของแผนที่ ที่ถูกเขียนขึ้นในมุมมองของนานาชาติ ทั้งประเทศตะวันออกอย่างจีน และ ประเทศตะวันตกเช่น อิตาลี ฝรั่งเศส แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของสยามกับประเทศรอบ ๆ ภาพ ”สยาม” ในมุมมองของประเทศตะวันออกและตะวันตก ที่สะท้อนผ่าน”การวาดแผนที่”
.
และตามมาด้วยในยุคของปลายศตวรรษที่ 19 ที่ญี่ปุ่นกลายมาเป็นประเทศที่มีอิทธิพลในเอเซีย บวกกับปี 1939 ที่สยามได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น “ไทย” โดยจอมพลป. โดยนำเสนอผ่านหลักฐานของญี่ปุ่นในไต้หวัน ที่จัดงาน 40th Anniversary of the Ruling Expo in Taiwan ซึ่งถึงแม้ไทยไม่เคยอยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น แต่ภายในงาน Expo ในตอนนั้น ญี่ปุ่นก็ได้จัดตั้งศาลาสยาม ใช้การออกแบบสถาปัตยกรรมในแบบไทยขึ้น เพื่อแสดงถึงอนุภาคของญี่ปุ่นตั้งแต่ในช่วงที่ญี่ปุ่นพยายามเสนอแนวคิดวงไพบูลย์ร่วมแห่งมหาเอเชียบูรพา (Greater East Asia Co-Prosperity Sphere) และยังมีแผนที่ที่ถูกวาดขึ้นโดยญี่ปุ่นอีกด้วย
.
ขยับเข้ามาใกล้ขึ้น เข้ามาสู่สิ่งที่เป็นสัญลักษณ์ของไทย ในยุคของความเป็นชาตินิยมที่ผ่านธงไตรรงค์ ที่ถูกเปลี่ยนโดยร.6 การให้คำอธิบายของไทยจากผู้ปกครอง ผ่านความหมายของธงชาติ 3 สี เครื่องแบบการแต่งกายสไตล์ไทยในสมัยร.5 ที่มีการนำลักษณะการออกแบบบางอย่างของโลกตะวันตกเข้ามาใช้ รวมทั้งชุดเครื่องชาลายช้าง กับโมเดลของเรือพระที่นั่งไทย
.
และตอนสุดท้าย คาดว่าน่าจะเป็นส่วนหนึ่งในนโยบายของไต้หวันที่พยายามให้ความสำคัญกับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ และหน่วยงานที่จัดนิทรรศการนี้คือ รัฐบาลของเมืองนิวไทเป จึงต้องเอาส่วนนี้มาผนวกเข้ามาด้วย วรรณกรรมไทยในไต้หวัน โดยนับตั้งแต่ปี 1990 มีแรงงานต่างชาติมากมายที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานในไต้หวัน ซึ่งไทยก็เป็นหนึ่งในนั้น และเป็นอันดับที่ 4 ที่ย้ายมาตั้งถิ่นฐานที่ไต้หวัน งานเขียนของคนเหล่านี้จึงกลายมาเป็นส่วนเสริมของวงการวรรณกรรมไต้หวัน โดยเสนอผ่านหนังสือ 6 เล่ม พร้อมกับการโควทประโยคบางส่วนออกมา สะท้อนวิถีชีวิตเรื่องราวของไทย ในมุมมองของคนไทยอพยพ สาเหตุการอพยพ การเข้ามาทำงานที่ไต้หวัน เรื่องราวชีวิตของคนไทยที่พบเจอ จนปรับตัวเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของไต้หวันได้
.
ซึ่งโดยส่วนตัวค่อนข้างคิดว่า การนำเสนอในแบบนี้ ในเรื่องหนึ่งคือการพยายามทำให้ตัวนิทรรศการสามารถแสดงอยู่ในพื้นที่จำกัดได้ และทำออกมาในรูปของการนำเสนอแบบมีเป้าหมาย ซึ่งก็คือตอนสุดท้ายที่จะแอบอวยไต้หวันนิ๊ด ๆ ซึ่งงบประมาณในการจัดนิทรรศการนี้ น่าจะเป็นของรัฐอะแหละ ซึ่งในการจัดนิทรรศการหนึ่งอัน มันก็ต้องมีวัตถุประสงค์ และกลุ่มเป้าหมายในตัวของมันอยู่แล้ว การไม่อธิบายอะไรเลย หรือ การอธิบายน้อย ๆ การนำเสนออะไรง่าย ๆ คิดว่าน่าจะเป็นสิ่งหนึ่งที่ผู้จัดพยายามที่จะทำ
การนำเสนอใช้วิธีการนำเสนอแบบ chronological และการนำเสนอของภาพใหญ่ ๆ จากบันทึกของคนนอก เข้ามาสู่คำอธิบายของผู้ปกครอง และประชาชนในประเทศ โดยนำเสนอตั้งแต่ยุคของจีน ยุคของการสำรวจ ยุคล่าอาณานิคมที่ญี่ปุ่นมีอิทธิพลในเอเชีย ยุคชาตินิยมของผู้ปกครองกับคำอธิบายของชาติ (National narrative) รวมทั้งคนไทยที่อพยพและอัตลักษณ์ของตนเอง(Self-identity) ของคนไทยเหล่านั้น ที่อพยพมาต่างแดน และยังคงมีความเป็นไทยอยู่ ? กับบ้านแห่งใหม่ของพวกเขา “ไต้หวัน”
.
2 มีนาคม 2021
ภูมิรพี แซ่ตั้ง
多樣泰:泰國文化特展
2021.03.27~09.25 @新北市十三行博物館 / 2樓長廊