斯卡羅 Seqalu: Formosa 1867:ความเป็นระเบียบ (Order) และความเป็นอารยะ (Civilization) ที่พยายามมอบให้แก่พวก “ป่าเถื่อน” กับการอยู่ในจุดที่สูงกว่า

斯卡羅 Seqalu: Formosa 1867:ความเป็นระเบียบ (Order) และความเป็นอารยะ (Civilization) ที่พยายามมอบให้แก่พวก “ป่าเถื่อน” กับการอยู่ในจุดที่สูงกว่า

 ความเป็นระเบียบ (Order) และความเป็นอารยะ (Civilization) ที่พยายามมอบให้แก่พวก “ป่าเถื่อน” กับการอยู่ในจุดที่สูงกว่า 

ความต่างทางชาติพันธุ์ แท้จริงแล้วเราคือใครกันแน่ (Self-identity)

กระแสโลกาภิวัฒน์ กับการปรับตัวเพื่อให้ “อยู่รอด”

.

ซี่รี่ย์เรื่อง 斯卡羅 Seqalu: Formosa 1867 ของไต้หวันพึ่งจบลงไปเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (สามารถหาดูได้จาก Netflix) รวมทั้งสิ้น 12 ตอน มีประเด็นที่น่าสนใจอยู่หลายเรื่องเหมือนกัน

.

โดยเนื้อเรื่องเป็นเรื่องราวของเหตุการณ์ Rover incident ซึ่งเป็นเรือสัญชาติอเมริกา ถูกพายุพัดถล่ม จนต้องขึ้นฝั่งบริเวณทางตอนใต้ของไต้หวัน ”หลางเจี้ยว”(琅嶠) ปัจจุบันคือบริเวณคาบสมุทรเหิงชุน ซึ่งเป็นบริเวณทางเข้าของอุทยานแห่งชาติเขิ่นติง มณฑลผิงตง ซึ่งแต่เดิมเป็นที่อยู่อาศัยของชนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในไต้หวัน ซึ่งเมื่อหนึ่งร้อยปีก่อนเคยถูกรุกรานจากชาวต่างชาติ จึงเกิดความแค้นมาโดยตลอด จนพบเจอเรือที่เข้ามาติดที่ชายฝั่ง จึงได้เปิดฉากโจมตีลูกเรือกว่า 14 คน ซึ่งมีลูกเรือมีชีวิตเหลือรอดหนึ่งคน  Charles W. Le Gendre เจ้าหน้าที่ของสหรัฐอเมริกาที่ประจำการในเซียะเหมิน จึงได้รับมอบหมายให้มาพื้นที่แห่งนี้เพื่อตรวจสอบและลงโทษผู้กระทำผิด เกิดความไม่สงบต่าง ๆ มากมาย ระหว่างชนพื้นเมือง ชาวฮั่น ชาวฮากกา ชาวฮกเกี้ยน จนท้ายที่สุดจบลงด้วยการลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพ "South Cape Alliance"  ซึ่งถือว่าเป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศฉบับแรกของไต้หวัน

.

ความไม่เท่าเทียมของ ชนพื้นเมือง ชาวฮั่น ชาวฮากกา ชาวฮกเกี้ยน 

กับการเข้ามาของชาวตะวันตกในฐานะ “ศัตรู”

.

การพยายามปกป้องตนเอง เพื่อเอาชีวิตให้รอด

กับ “ไม่มีอะไรที่เป็นศัตรูไปตลอด”

.

การพยายามยัด “ระเบียบ” และ “ความเป็นอารยะ” ให้แก่พวก “ป่าเถื่อน”

พวกที่อยู่สูงกว่า กับ พวกที่อยู่ต่ำกว่า กับการปรับสมดุลให้เท่ากัน

ผ่านแว่นตา”ผู้ที่อยู่สูงกว่า” พยายามที่จะให้โอกาส พูดคุยเพื่อประโยชน์ตนเอง

เมื่อพูดคุยไม่สำเร็จจึงนำไปสู่ การพยายาม “สยบ” ซึ่งนำมาซึ่งความ “พ่ายแพ้”

จนท้ายที่สุด พบเจอกับการ “ให้อภัย” และการพยายาม “ทำความเข้าใจ”

เพื่อหา “จุดร่วม” ของทั้งสองฝ่าย ซึ่งก็คือ “สันติภาพ” นำไปสู่การเซ็นสนธิสัญญา

นำไปสู่สิ่งที่เรียกว่า “มิตรภาพ”

.

ความเป็นเลือดบริสุทธิและเลือดผสม

การไม่รู้รากเหง้าของตนเอง

การพยายามตามหาความเป็นตัวตน(identity)ของตนเอง

การถูกทำให้เป็นอารยะ จนไม่ได้รับการยอมรับจากพวกตนเอง

การตกอยู่ในสถานะของการที่ทั้งสองฝ่ายไม่มีใครยอมรับตนเอง

จนจบลงที่การกลับไปสู่จุดเริ่มต้นของชีวิต

.

“ท้ายที่สุดแล้ว เราก็ต้องใช้ชีวิตต่อไปและปรับตัวให้เท่าทันกับกระแสโลกาภิวัฒน์”

.

ภูมิรพี แซ่ตั้ง

21 กันยายน 2021

#อยากบันทึกไว้เล่าสู่กันฟัง