ถ้าขายอาหารไทยในต่างประเทศควรทำรสชาติให้เข้ากับประเทศนั้น หรือทำให้เป็นไทยแท้ ๆ ?
ช่วงนี้ได้มีโอกาสกินร้านอาหารไทยในไต้หวันหลาย ๆ ร้าน
ทั้งร้านที่คนไทยทำ และไต้หวันทำ คนที่นี่ชอบอาหารไทยกันพอสมควร
ซึ่งแต่ละร้านก็มีรสชาติและสไตล์การทำที่ไม่เหมือนกัน
บ้างก็ปรับรสชาติให้เข้ากับคนไต้หวัน
บ้างก็ทำกระเพราใส่มะเขือเทศ !! 打拋豬加番茄就是死罪!
บ้างก็ทำกระเพราใส่ใบโหระพา 放九層塔的打拋豬為何不叫九層塔豬
หรือบางครั้งก็พยายามจะทำให้ดูเป็นไทยจ๋า โดยเอาภาพของความเป็นไทยมาใส่ร้าน
สไตล์ร้าน จาน ชาม ถ้วย ซึ่งมันก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจเหมือนกัน
.
อาหารไทยที่ปรับรสชาติให้เข้ากับคนประเทศนั้น ยังจะเรียกว่าอาหารไทยอยู่ไหม ?
.
ถ้าไม่ปรับแล้วคนขายจะขายได้หรือเปล่า ?
.
หรือว่าจริง ๆ แล้ว อาหารมันไม่มีอะไรที่แน่นอน...
.
อะไรคือความเป็นไทยในอาหาร ?
อะไรถึงเรียกว่าอาหารไทย
อาหารไทยที่กินอยู่ เป็นไทยหรือเปล่า
แล้วความเป็นไทยคืออะไร
.
ความเป็นไทยที่เขาพูดถึงกัน กับประวัติศาสตร์แห่งการสร้างชาติที่เรียนกัน
การผนวกรวมของกลุ่มชาติพันธ์ุ ภายใต้วาทกรรม สัญชาติ เชื้อชาติ
ไท ไทย ความเป็นไทย คนไทย ประเทศไทย ประเทศของคนไทย
คนจีนก็คือคนไทย คนไทยก็คือคนไทย
นโยบายแห่งการผนวกรวมทางวัฒนธรรม
ชาตินิยมกับการกลืนชาวจีน “ยิวแห่งบูรพาทิศ”
กระบวนการทลายกำแพงกั้นระหว่างชาติพันธ์ุ
กลายเป็นการรับและปรับปรุงของวัฒนธรรม (ไทย?)
.
อาหารก็เช่นกัน การอพยพข้ามแผ่นดินของชาวจีน
การมีเรือสำเภาตรงมาถึงกรุงเทพในปี 1882
การอพยพครั้งสำคัญของชาวจีนแต้จิ๋วในยุคปลายราชวงศ์ชิง
การนำวัฒนธรรมจีน เข้ามาสู่ไทย เกิดการกลืนกลายทางวัฒนธรรม
การรับ การปรับ การเปลี่ยน กลายเป็นสิ่งใหม่
จริง ๆ แล้วมันก็เป็นสิ่งหนึ่งของการพัฒนา
.
อาหาร ก็เช่นกัน รับมา ปรับปรุง และ เกิดใหม่
ความใหม่ ความเป็นสมัยใหม่ (Modern) ความแปลกใหม่
.
สิ่งเก่า ๆ ก็ต้องตกยุคไป
คนเก่า ๆ แก่ ๆ ก็ต้องหายไป
หากมันยังดี ก็อาจโหยหา
หากมันไม่ดี ก็ต้องทิ้งไป
.
เกิดการพัฒนาไปสู่ยุคต่อ ๆ ไป
.
อาหารกับการเปลี่ยนแปลงก็เช่นกัน
รับมา ก็เปลี่ยนแปลง ถ้าอร่อยก็อยู่รอด ไม่อร่อยก็หายไป...
26 ธันวาคม 2020
ภูมิรพี แซ่ตั้ง