จดทะเบียนบริษัทแบบ LLC ใน US ด้วย Fiverr

อยากจะมีบริษัทเป็นของตัวเอง แต่ไม่รู้จะทำยังไง อยากจัดตั้งบริษัทในต่างประเทศ ก็กลัวว่าขั้นตอนจะยุ่งยาก

จดทะเบียนบริษัทแบบ LLC ใน US ด้วย Fiverr

อยากจะมีบริษัทเป็นของตัวเอง แต่ไม่รู้จะทำยังไง อยากจัดตั้งบริษัทในต่างประเทศ ก็กลัวว่าขั้นตอนจะยุ่งยาก สำหรับเราแล้ว อเมริกาก็เป็นหนึ่งในประเทศที่น่าสนใจในการจัดตั้งบริษัท

ตามกฎหมายประเทศไทย การจะจะตั้งธุรกิจในประเทศไทยนั้น หากมีเจ้าของคนเดียวจะไม่ได้อยู่ในฐานะนิติบุคคล ซึ่งการจัดตั้งธุรกิจแบบนิติบุคคลได้นั้นจะต้องมีผู้ร่วมจัดตั้งตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป (สำหรับห้างหุ้นส่วนสามัญ และ ห้างหุ้นส่วนจำกัด) และ 3 คนขึ้นไป (สำหรับบริษัทจำกัดและบริษัทจำกัดมหาชน)

แต่ในอเมริกานั้น เราจะสามารถจัดตั้งบริษัทที่มีเจ้าของคนเดียวได้ โดยในอเมริกาเราในฐานะชาวต่างชาติ Non- Resident จะสามารถที่จะจัดตั้งบริษัทได้สองแบบด้วยกันคือ LLC (Limited Liability Company) และ C-Corp (C corporation) โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปอเมริกา

ประเภทของธุรกิจในอเมริกา

ประเภทธุรกิจในอเมริกานั้นสามารถแบ่งเป็น 4 ประเภทใหญ่ ๆ ได้ดังนี้

1. กิจการเจ้าของคนเดียว (Sole Proprietorship) คือธุรกิจที่มีเจ้าของคนเดียว โดยในบางรัฐการทำธุรกิจชนิดนี้อาจจะต้องจดทะเบียนก่อน โดยรายได้ทั้งหมดจะตกเป็นของเจ้าของกิจการแต่เพียงผู้เดียว

หรือพูดง่าย ๆ ก็คือเป็น “บริษัทของตัวเองคนเดียว ตัวเองเป็นคนรับผิดชอบทุกอย่างเกี่ยวกับกิจการในบริษัท” สถานะทางกฎหมายระหว่างตนเองและบริษัทไม่ได้แยกกัน ดังนั้นหากเกิดปัญหาทางด้านกฎหมาย ตนเองก็จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมดที่เกิดจากการกระทำใด ๆ ก็ตามในบริษัท รายรับทั้งหมดก็จะต้องยื่นภาษีในนามบุคคลก็จะไม่มีปัญหาในเรื่องของภาษีที่ซ้ำซ้อน

ซึ่งในบางกรณี กิจการประเภทนี้ไม่จำเป็นที่จะต้องยื่นคำร้องขอหมายเลข EIN (Employer Identification Number) กับทาง กรมสรรพากรแห่งสหรัฐอเมริกา หรือ IRS (Internal Revenue Service) จะยื่นคำร้องขอก็ต่อเมื่อบริษัทเริ่มต้นที่จะมีการจ้างคนเข้ามาช่วยจัดการถึงจะเขียนคำร้องขอหมายเลข EIN

2. ห้างหุ้นส่วน (Partnership) คือ ธุรกิจที่มีตั้งแต่ 2 บุคคลขึ้นไปเป็นเจ้าของโดยกระทำสัญญาทางธุรกิจร่วมกัน เพื่อแบ่งปันผลประโยชน์กำไรและหนี้สิ้นร่วมกันในปริมาณเท่า ๆ กันตามจำนวนหุ้นส่วน

3. บริษัท (Corporation) คือ บริษัทธุรกิจที่มีผู้ถือสัญชาติใดก็ได้ตั้งแต่ 1 คนขึ้นไปในการจัดตั้งโดยในอเมริกานั้นจะแบ่งออกเป็น C-Corp (C Corporation) และ S-Corp (S Corporation) โดย C-Corp ก็เหมือนกับบริษัทจำกัดในประเทศไทย ซึ่งกระบวนการในการจัดตั้ง จัดสรรหุ้นส่วนให้แก่ “ผู้ถือหุ้น”(Shareholder) และก็จะมีบอร์ดบริหาร (board of directors and officers) มีการประชุม และมีการจ่ายภาษีเงินได้โดยบริษัทเป็นผู้จ่าย ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการจ่ายภาษีซ้ำซ้อนในระดับธุรกิจ และบุคคลได้

4. บริษัท รับผิด จำกัด หรือ LLC (Limited Liability Company) เป็นบริษัทรูปแบบเฉพาะของอเมริกาที่เริ่มต้นขึ้นในปี 1977 ในรัฐไวโอมิง (Wyoming) เป็นการนำข้อดีของ ห้างหุ้นส่วน (Partnerships) และ C-Corp เข้ามาไว้ด้วยกัน กล่าวคือเป็นรูปแบบของบริษัทที่มีความยืดหยุ่น ไม่จำเป็นต้องมีบอร์ด การประชุม อะไรที่ซับซ้อนเท่า C-Corp โดยมีการจ่ายภาษีในระดับบุคคลอย่างเดียวในฐานะของ “สมาชิก”(Member) ของบริษัท ทำให้ไม่ต้องกังวลเรื่องปัญหาการจ่ายภาษีซ้ำซ้อนได้

ข้อดีของการจัดตั้งบริษัท

  1. ชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือ การมีบริษัทที่จัดตั้งในอเมริกา แน่นอนแล้วว่าในฐานะของบริษัทต่างชาติ และบริษัทของประเทศอเมริกาที่เป็นมหาอำนาจของโลกทางเศรษฐกิจ สร้างความน่าเชื่อถือให้กับลูกค้าของคุณอย่างดี
  2. ประโยชน์ทางภาษี หากคุณไม่ได้ประกอบธุรกิจอยู่ที่อเมริกาหรือพำนักอยู่เกิน 120 วันต่อปี ไม่ได้มีชาวอเมริกาเป็นหุ้นส่วนในธุรกิจ และไม่ได้จ้างลูกน้อง หรือผู้รับเหมาใด ๆ ที่ทำงานอยู่ที่อเมริกา รายรับต่าง ๆ ก็ถือได้ว่าปลอดภาษี ไม่ต้องกังวลเรื่องปัญหาภาษีใด ๆ (โปรดศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมในส่วนของ engaging in a Trade or Business in the US)
  3. เข้าถึงตลาดและเงินทุนจากอเมริกา การมีบริษัทในอเมริกา ทำให้คุณมีโอกาสที่จะเข้าถึงการค้าขายตลาดหุ้นสหรัฐได้โดยไม่ต้องผ่านคนกลาง และหากจัดตั้งบริษัทแบบ C-Corpในรัฐเดลาแวร์ (Delaware) ก็สามารถหาเงินสนับสนุนจากนักลงทุนมากมายที่นิยมลงทุนกับบริษัทที่จดทะเบียนในรัฐดังกล่าวได้
  4. ระบบธนาคารที่ยอดเยี่ยม การจัดตั้งบริษัททำให้คุณสามารถเปิดบัญชีธนาคารสกุลเงิน USD ในอเมริกาได้ รวมทั้งยังสามารถนำเงินไปลงทุนในอุตสาหกรรมสกุลเงินดิจิตอลคริปโตเคอเรนซีโดยใช้สกุลเงินดอลลาร์ได้โดยตรงอีกด้วย
  5. ระบบการรับชำระเงินที่ยอดเยี่ยม การจดทะเบียนบริษัทอเมริกาทำให้คุณสามารถใช้บริการบริษัทรับชำระเงินอาทิ Stripe, Shopify Payments, Paypal ได้และได้รับสิทธิประโยชน์มากมาย
  6. ค่าบำรุงรักษาสถานะบริษัทที่ต่ำ การจดทะเบียนบริษัทและการยื่นเอกสารรายปีแต่ละรัฐมีค่าใช้จ่ายที่ต่างกัน โดยหากเลือกจดทะเบียนในรัฐที่ดี ค่าธรรมเนียมรายงานประจำปีบริษัทก็แทบจะถูกกว่าไทยอย่างเหลือเชื่อ โดยการส่งรายงานประจำปีเหล่านี้สามารถทำได้โดยไม่จำเป็นต้องอยู่ที่อเมริกา
Passbook By Remitly บัญชีธนาคาร US บัญชีแรกของฉัน
บอกเล่าเรื่องราวการเปิดบัญชีธนาคาร US ผ่านแอพ Passbook By Remitly อย่างละเอียด สามารถเปิดได้แม้กระทั่งไม่เคยไป US มาก่อน

ซึ่งในบทความนี้เราจะมาพูดกันเฉพาะเจาะจงลงไปถึงบริษัทแบบ LLC กัน เพราะว่าเป็นรูปแบบที่มีความยืดหยุ่นและบริหารจัดการอะไรได้ง่าย ซึ่งเพื่อให้ง่ายต่อการจัดตั้ง เราจึงขอแนะนำการจัดตั้งบริษัทผ่านฟรีแลนซ์ที่คอยช่วยเหลือต่าง ๆ ในเว็บไซต์ Fiverr เพื่อจะได้ไม่ต้องมากังวลในเรื่องเอกสารต่าง ๆ

เว็บไซต์: http://www.fiverr.com/

ซึ่งก็มีตัวเลือกและราคาต่าง ๆ มากมายให้เลือกสามารถเลือกและตัดสินใจได้เลยโดยแพ็กเกจที่เขาจะทำให้พื้นฐานก็จะประกอบไปด้วย

  1. จัดตั้งบริษัท US LLC ให้ (US LLC Registration)
  2. บริการที่อยู่บริษัท รับเอกสารแสกนเอกสาร และ Registered Agent ที่รับผิดชอบ (Mailing Address in the U.S. Including Registered Agent.)
  3. หนังสือสำคัญการจดทะเบียนบริษัท (Articles of Organization)
  4. หนังสือรับรองบริษัท (Certificate of Good Standing)
  5. เอกสารข้อตกลงบริษัท ที่ทำไว้กับเจ้าของ(สมาชิก)บริษัท (Operating Agreement)
  6. หมายเลข EIN ของบริษัท (บางฟรีแลนซ์หมายเลข EIN จะต้องจ่ายเงินเพิ่มเพื่อให้ได้มา ซึ่งหากต้องการเปิดบัญชีธนาคาร หมายเลข EIN ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องใช้)
การใช้ Fiverr ในการขอ EIN เพื่อใช้เป็นเอกสารยืนยันที่อยู่ US
เมื่อโพสที่ผ่านมา Passbook By Remitly บัญชีธนาคาร US บัญชีแรกของฉัน ได้มีการพูดถึง การใช้ Fiverr ในการขอ EIN…

สิ่งที่ต้องเตรียมในการจัดตั้ง LLC

ไม่ว่าจะเลือกฟรีแลนซ์คนไหนสิ่งที่ต้องเตรียมคร่าว ๆ ส่วนใหญ่ก็ไม่ต่างกันมากดังนี้

  1. ชื่อบริษัท ถ้าให้ดีคิดมาสัก 3 ชื่อ หากซ้ำจะได้มีตัวเลือก โดยเมื่อตั้งชื่อแล้วจะได้ชื่อบริษัท และตามด้วยคำว่า LLC เช่น Google LLC เป็นต้น
  2. รัฐที่ต้องการจัดตั้งบริษัท แต่ละรัฐในอเมริกา มีข้อกำหนด ค่าใช้จ่าย และระเบียบการจัดเก็บภาษีที่ต่างกัน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเลือกรัฐที่เหมาะกับประเภทธุรกิจของคุณ
  3. ชื่อ-สกุลเจ้าของบริษัท วันเดือนปีเกิด E-mail และที่อยู่ที่ไม่ใช่ US
  4. ประเภทของธุรกิจที่จะทำ

จัดตั้งบริษัทแบบ LLC ในรัฐไหนดี

อเมริกา ประกอบไปด้วย 50 รัฐและ 1 เขตการปกครองพิเศษ ซึ่งแต่ละรัฐก็จะมีรูปแบบของภาษี ค่าบริการต่าง ๆ และการจัดตั้งที่ต่างกันออกไป การจัดตั้งบริษัทจึงควรคำนึงถึงการประกอบธุรกิจของเรา รวมทั้งงบประมาณค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งบริษัทด้วย

ซึ่งแต่ละรัฐก็จะมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันไป โดยรัฐที่แนะนำสำหรับการจัดตั้ง LLC ก็จะมี โคโลราโด (Colorado), ไวโอมิง (Wyoming) และ นิวเม็กซิโก (New Mexico) เพราะว่ามีค่าใช้จ่ายที่ถูก จัดตั้งได้รวดเร็ว มีเงื่อนไขภาษีที่ดี และสามารถดำเนินการทุกอย่างได้จากระยะไกล นอกจากนี้ยังมีรัฐยอดฮิตในการจัดตั้งบริษัทอาทิเช่นเดลาแวร์ (Delaware), เนวาดา (Nevada) แต่เนื่องด้วยมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง หากไม่มีความจำเป็นก็ไม่คุ้มค่าที่จะจัดตั้งในรัฐเหล่านั้น

ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการจัดตั้งบริษัทและค่าใช้จ่ายในอนาคต

การจัดตั้งบริษัทผ่านตัวแทนใน Fiverr ก็จะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 2–300 USD โดยประมาณ อาจมีถูกหรือแพงกว่าขึ้นอยู่กับบริการของแต่ละคน โดยค่าใช้จ่ายนี้ส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยรายละเอียดดังต่อไปนี้

  1. ค่าขึ้นทะเบียนจัดตั้งบริษัทกับรัฐที่จัดตั้งบริษัท ซึ่งแต่ละรัฐก็มีค่าใช้จ่ายที่ต่างกัน
  2. ค่าที่อยู่รับเอกสาร แสกนเอกสารและ Register Agents ในการดูแลการจัดตั้งบริษัท สำหรับปีแรก ซึ่งในปีต่อ ๆ ไป เราก็ต้องจ่ายในส่วนนี้ด้วย ก็อยู่ที่ประมาณ 25 USD มากหรือน้อยกว่านี้ขึ้นอยู่กับบริษัทที่รับผิดชอบ
  3. ค่าใช้จ่ายในการส่งรายงานประจำปีในอนาคตที่จะต้องจ่ายทุกปี โดยทั้ง 3 รัฐ จะอยู่ที่ประมาณดังนี้ Colorado: $10, Wyoming: $52 และ New Mexico $0 (ราคาดังกล่าวยังไม่รวมค่าบริการหากจ้างคนอื่นกรอกรายงาน แต่สามารถดำเนินการรายงานเองได้)

เมื่อดำเนินการจ้างฟรีแลนซ์ให้จัดตั้งบริษัทให้ ก็จะใช้เวลาประมาณ 2–3 วัน บริษัทก็จัดตั้งสำเร็จเรียบร้อยแล้ว

วิธีสมัคร Anytime Mailbox™ เช่าที่อยู่ส่วนตัว US ไว้รับจดหมายและพัสดุ
เมื่อโพสที่ผ่านมา Passbook By Remitly บัญชีธนาคาร US บัญชีแรกของฉัน ได้มีการพูดถึง การใช้ที่อยู่ Anytime Mailbox ในการเปิดบัญชี Passbook By…

ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง

  1. EIN (Employer Identification Number)
  2. IRS (Internal Revenue Service)
  3. Fiverr
  4. US LLC for Non-US Residents (Foreigners) 2022 Guide
  5. สรุปเรื่องการทำธุรกิจในสหรัฐอเมริกา
  6. การจัดตั้งบริษัท — ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในสหรัฐ
  7. การจัดตั้งธุรกิจในสหรัฐฯ — ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในสหรั