ว่าด้วย East Asian Community (EAC) กับนิยามของสันติภาพ

ว่าด้วย East Asian Community (EAC) กับนิยามของสันติภาพ
Photo by Hannah Busing / Unsplash

 ว่าด้วย East Asian Community (EAC) กับนิยามของสันติภาพ

.

ช่วงนี้ได้อ่านหนังสือของอาจารย์เกาหลีท่านนึง 백영서

เป็นอาจารย์ของมหาลัย yonsei 연세대학교 ในเกาหลี

ชื่อหนังสือ East Asia as Intellectual Thought: History and Practices from the Perspective of the Korean Peninsula

พูดถึงเรื่องราวของแนวคิด EAC แล้วน่าสนใจ

เลยเอามาแบ่งปัน

.

ระเบียบของ “เอเชียตะวันออก” แบบมีศูนย์กลาง

ผ่าน 3 จักรวรรดิ จีน ญีปุ่น อเมริกา 

ไปสู่การค้นหา “ชุมชนเอเชียตะวันออก” แบบไร้ศูนย์กลาง

.

เนื่องด้วยหนังสือเล่มนี้ถูกเขียนขึ้น ผ่านมุมมองของคนเกาหลี เนื้อหาจึงเน้นไปทางการวิเคราะห์ โดยใช้การสร้างรัฐรวม เสนอแนวคิดจากล่างสู่บน ระหว่างประเทศเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้เป็นแม่แบบ ไปสู่การสร้าง “ชุมชนแห่งเอเชียตะวันออก” 

และเดินหน้าไปสู่ “ประชาคมโลก”

.

จักรวรรดิจีน ผ่านการส่งราชบรรณการ 

ไปสู่ญี่ปุ่นกับวงไพบูลย์ร่วมแห่งมหาเอเชียบูรพา

สู่อเมริกา ในรูปแบบร่วมกลุ่มทางภูมิภาค (Regional Integration) ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ

สู่การค้นหาของความไม่มีศูนย์กลาง

.

ทัศนะของจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ต่อ “ชุมชนเอเชียตะวันออก”

เป้าหมายของคำว่าสันติภาพ ในบริบทที่ต่างกัน

.

การกลับมาของจีนกับเล่ห์กลความร่วมมือเพื่อสันติภาพ

ทัศนะของญีปุ่นกับการกลายตนให้เป็น “ประเทศปกติ”

เกาหลี กับ “ยุคแห่งเอเชียตะวันออก”

.

ผู้เขียนพูดถึงแนวคิดของนักวิชาการชาวญี่ปุ่น

 takeuchi yoshimi 竹內好

เรื่องราว overcoming the modern  近代の超克

กับการนำไปสู่ “ชุมชนเอเชียตะวันออก”

.

มันก็มีคำถามที่น่าสนใจเหมือนกัน

ทำไม เกาหลี ถึงเป็นประเทศที่มีการพูดถึงของชุมชนเอเชียตะวันออกมากที่สุด รองลงมาก็ญี่ปุ่น

ทำไมจีนถึงไม่มีการพูดถึงชุมชนเอเชียตะวันออกในยุคแรก

.

หรือว่าจริงแล้ว จีน = เอเชียตะวันออก

การร่วมมือเพื่อสันติภาพ กับการกลับมาของจีน

ประเทศที่ใหญ่ และ มีทรัพยากรที่เอื้อประโยชน์

สามารถสร้าง “ชุมชนเอเชียตะวันออก” แบบไร้ศูนย์กลางได้จริงหรอ หรือเป็นเพียงแค่เล่ห์กลของจีน ต่อการขยายความเป็นจีน แบบไม่รู้ตัว

.

เราจะสามารถสร้าง “ชุมชน” ที่ไร้ศูนย์กลางได้จริงหรอ

เมื่อผลประโยชน์ อำนาจ กลายเป็นปัจจัยหนึ่งที่จำเป็นต้องนำเข้าสู่กระบวนการตัดสินใจ

.

จาก “ชุมชนแห่งเอเชียตะวันออก”

มองย้อนสู่ “ชุมชนชาวไทย”

ปัญหาความขัดแย้งในปัจจุบัน จะมีการจัดการอย่างไร

ก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจ 

.

หากนำแม่แบบของ การสร้างรัฐรวม(Compound State)

ของเกาหลีเหนือ-ใต้ที่ผู้เขียนเสนอ 

กระบวนการจากล่างสู่บน 

จากความร่วมมือของประชาชนไปสู่การปกครองของประเทศในระเบียบใหม่

.

เมื่อคนเห็นต่างทั้งสองฝ่ายได้รับการยอมรับ

ผ่านสถานะการพูดคุยในจุดที่เท่ากัน

การยอมรับ = การสร้างระบบใหม่

เมื่อระบบใหม่เกิดขึ้น ทั้งสองจึงอยู่ในระบบเดียวกัน

ปัญหาความขัดแย้ง จึงจะนำไปสู่สิ่งที่เรียกว่าสันติภาพ

.

หรือมันเป็นเพียงแค่ทฤษฎีแห่งยูโทเปีย ?

.

ภูมิรพี แซ่ตั้ง

4 มีนาคม 2021